แกแล็กซีต่างๆ
1.Abell 520
ระบบที่กลุ่มแกแล็กซีที่มีมวลสูงอย่างน้อยสองกลุ่มเกิดการปะทะกัน ภาพที่ใช้หลายความยาวคลื่นแสดงให้เห็นถึงความยุ่งเหยิงหลังการปะทะกันของแกแล็กซีอย่างน้อยสองกลุ่ม ซึ่งเป็นวัตถุที่มีมวลสูงมากที่สุดชนิดหนึ่งในเอกภพ ภาพเอ็กซ์เรย์จาก Chandra (สีแดง) แสดงให้เห็นถึงก๊าซร้อนที่ห่อหุ้มกลุ่มแกแล็กซี แต่ละแกแล็กซีจะปรากฏในภาพที่มองเห็นแสงได้ (สีเหลืองและส้ม) ซึ่งทำให้เห็นสสารมืด (สีน้ำเงิน) จากการบิดเบือนที่ไม่ชัดเจนของวัตถุที่อยู่ไกล ลักษณะของสสารมืดเมื่อเทียบกับแกแล็กซีและก๊าซร้อนใน Abell 520 มีความผิดปกติมาก ข้อมูลเหล่านี้สามารถอธิบายได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจปัจจุบันเกี่ยวกับสสารมืด หรือวิธีที่กลุ่มแกแล็กซีมีปฏิกิริยาต่อกันเมื่อมีการรวมตัว
2.Abell 3627
กลุ่มขนาดยักษ์ของแกแล็กซีห่างจากโลกประมาณ 220 ล้านปีแสง โดยมีแกแล็กซี ESO 137-001 พุ่งเข้าหา ภาพที่ประกอบขึ้นนี้แสดงหางที่เกิดขึ้นขณะที่แกแล็กซี ESO 137-001 พุ่งเข้าสู่กลุ่มแกแล็กซี Abell 3627 ภาพเอ็กซ์เรย์จาก Chandra (น้ำเงิน) และแสงออพติค (ขาวและแดง) จากกล้องโทรทรรศน์ SOAR แสดงภาพนี้ขณะที่แกแล็กซีพุ่งเข้าหา มีการแตกกระจายของวัสดุ และกำเนิดดวงดาวด้านหลังในหางที่มีความยาวกว่า 200,000 ปีแสง ผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นว่าดาวนั้นเกิดขึ้นได้ภายนอกแกแล็กซีของตนเอง
3.แกแล็กซีแบบกังหันลม
แกแล็กซีรูปวงแหวนที่อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 400 ล้านปีแสง รูปภาพนี้มีข้อมูลจากช่วงความยาวคลื่นของแสงที่แตกต่างกันสี่แบบ: อินฟราเรด (สีแดง) มองเห็นได้ (สีเขียว) อุลตร้าไวโอเล็ต (สีฟ้า) และเอ็กซ์เรย์ (สีม่วง) รูปร่างที่ผิดปกติของแกแล็กซีล้อเกวียนนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการชนกับอีกแกแล็กซีหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าที่ทางด้านซ้ายล่างเมื่อหลายร้อยล้านปีมาแล้ว แกแล็กซีขนาดเล็กนี้จะสร้างคลื่นการบีบอัดในก๊าซของแกแล็กซีล้อเกวียนเมื่อเคลื่อนที่เข้าไปในแกแล็กซีดังกล่าว คลื่นการบีบอัดนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนการสร้างรูปแบบดวงดาว การระเบิดของดวงดาวล่าสุดทำให้เกิดแสงที่ขอบของแกแล็กซีล้อเกวียน ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าแกแล็กซีทางช้างเผือกที่มีดาวอายุหลายล้านดวง แหล่งแสงเอ็กซ์เรย์สีขาวที่ส่องสว่างซึ่งตรวจพบด้วย Chandra ที่ส่วนขอบนั้นเกิดขึ้นจากสสารที่ตกลงไปในหลุมดำที่เกิดขึ้นหลังจากการระเบิดของดาวขนาดใหญ่
แกแล็กซีที่ยังมีชีวิต อยู่ระหว่าง 11 ล้านปีแสงจากโลกของเราในกลุ่มดาว Centaurus ภาพของ Chandraของแกแล็กซีที่ใกล้เคียงนี้แสดงเส้นโค้งขนาดใหญ่ของก๊าซที่มีความร้อนหลายล้านองศาเซลเซียสในขอบแกแล็กซี ภาพประกอบของเอ็กซ์เรย์ (น้ำเงิน) วิทยุ (ชมพูและเขียว) และออพติคัล (ส้มและเหลือง) เป็นภาพของแกแล็กซีที่กำลังวุ่นวาย เส้นโค้งของก๊าซร้อนจัดที่แผ่รังสีเอ็กซ์เรย์ ดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของวงแหวนเส้นผ่าศูนย์กลาง 25,000 ปีแสง ขนาดและตำแหน่งของวงแหวนแสดงให้เห็นว่าอาจเกิดขึ้นในการระเบิดครั้งมโหฬารที่เกิดขึ้นในนิวเคลียสของแกแล็กซีประมาณหมื่นปีก่อน
กาแล็กซีที่อยู่ห่างไป 12 ล้านปีแสงจากโลก ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การก่อกำเนิดดวงดาว ภาพจาก Great Observatories ของ NASA ได้รับการสร้างขึ้นจากหลายคลื่นความถี่ ในมุมมองของการระเบิดของกาแล็กซี M82 แสงออพติคจากดวงดาว (สีเหลือง-เขียว/กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble) แสดงให้เห็นรูปจานขนาดเล็กซึ่งน่าจะเป็นกาแล็กซีปกติ ภาพจากการสำรวจของ Hubble อีกภาพที่จับภาพกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนอุณหภูมิสูง 10,000 องศาเซลเซียส (สีส้ม) ที่เผยให้เห็นภาพที่น่าตื่นตาของมวลสารที่ระเบิดออกจากกาแล็กซี ภาพอินฟราเรดของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Spitzer (สีแดง) แสดงให้เห็นกลุ่มก๊าซเย็นและฝุ่นละอองที่พุ่งออกมาเช่นกัน ภาพเอ็กซ์เรย์ Chandra (สีน้ำเงิน) แสดงให้เห็นก๊าซความร้อนสูงถึงระดับล้านองศาที่พวยพุ่งออกมาอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดจากการก่อกำเนิดดวงดาวในส่วนกลางของกาแล็กซี การก่อตัวของการระเบิดของดาวคาดว่าน่าจะเกิดจากการเฉียดเข้าใกล้ของกาแล็กซีใกล้เคียงคือ M81 เมื่อประมาณ 100 ล้านปีที่แล้ว
แกแล็กซีรูปวงรีในกลุ่มกระจุก Virgo ซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 50 ล้านปีแสง การส่องส่ว่างของ Chandra ใน M87 มีการปล่อยช็อคเวฟที่เป็นคลื่นเอ็กซ์เรย์ที่มีพลังงานสูง รวมทั้งยังมีชุดของการระเบิดตัวจากหลุมดำมวลยวดยิ่งที่ศูนย์กลาง ภาพที่มีสี (เอ็กซ์เรย์คือสีแดง; ข้อมูลออปติคัลคือสีน้ำเงิน) แสดงชุดของลูปและบับเบิลในก๊าซที่มีการปล่อยรังสีเอ็กซ์เรย์ที่มีความร้อนสูง ซึ่งเป็นซากจากการระเบิดย่อยๆ ใกล้ๆ กับหลุมดำ นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นที่สังเกตเห็นได้ใน M87 เป็นครั้งแรก คือแถบบางๆ ที่เป็นการปล่อยคลื่นเอ็กซ์เรย์ ซึ่งอาจเกิดจากก๊าซร้อนผ่านเข้าไปในสนามแม่เหล็ก แถบหนึ่งของแถบบางๆ นี้มีความยาวมากกว่า 100,000 ปีแสง โดยทอดตัวลงมาตามแนวล่างและด้านขวาจากกึ่งกลางของ M87 ในลักษณะที่เกือบจะเป็นเส้นตรง
แกแล็กซีรูปกังหัน รู้จักในชื่อ M104 ในกระจุกดาว Virgo ห่างไปประมาณ 28 ล้านปีแสง
ภาพของแกแล็กซี Sombrero ที่มีชื่อเสียงนี้ใช้ภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Chandra, Hubble และ Spitzer ของ NASA ภาพเอ็กซ์เรย์จาก Chandra (สีน้ำเงิน) แสดงก๊าซร้อนในแกแล็กซีและตำแหน่งที่เป็นส่วนผสมของวัตถุต่างๆ ภายในแกแล็กซีและเบื้องหลังเป็นควอซาร์ ภาพถ่ายจาก Hubble (สีเขียว) แสดงส่วนของดาวที่บางส่วนถูกบังโดยฝุ่นละออง ซึ่งเรืองแสงในมุมมองอินฟราเรดของ Spitzer (สีแดง)
ระบบที่กลุ่มแกแล็กซีขนาดใหญ่สองกลุ่มชนกัน ภาพประกอบเอ็กซ์เรย์ (น้ำเงิน)/ออพติค (แดงและเขียว) แสดงรายละเอียดของเนบิวลารูปเสี้ยววงกลม ประมาณ 400,000 ปีก่อน ดาวขนาดยักษ์ HD 192163 (ซึ่งอยู่นอกภาพทางมุมขวาล่าง) ขยายตัวอย่างมากจนกลายเป็นยักษ์สีแดงและปล่อยเลเยอร์ภายนอกที่ความเร็วประมาณ 20,000 ไมล์ต่อชั่วโมง หลังจากนั้นสองแสนปี การแผ่รังสีที่เข้มข้นจากชั้นในที่ร้อนจัดของดาวก็เริ่มดันก๊าซออกกที่ความเร็วกว่า 3 ล้านไมล์ต่อชั่วโมง! การชนของลมสุริยะความเร็วสูงกับลมของดาวยักษ์สีแดงที่ช้ากว่าเป็นแรงอัดก๊าซให้เป็นเปลือก (แดง) และสร้างช็อคเวฟสองครั้ง: ช็อคที่เคลื่อนออกซึ่งมองเห็นได้ในช่วงคลื่นออพติค (เขียว) และช็อคเวฟที่เคลื่อนเข้าด้านใน ซึ่งสร้างฟองก๊าซที่แผ่รังสีเอ็กซ์เรย์มีความร้อนสูงถึง 2 ล้านองศาเซลเซียส (น้ำเงิน) ซึ่งเห็นได้โดย Chandra เนื่องจากดาวขนาดยักษ์ระเบิดออกเป็นซูเปอร์โนวา ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายนอกจะช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถทำความเข้าใจกับซูเปอร์โนวาและซากของซูเปอร์โนวาได้ดียิ่งขึ้น
พื้นที่ก่อกำเนิดดวงดาวใกล้เคียง ห่างจากโลกประมาณ 7,000 ปีแสง ภาพประกอบของเนบิวลาเหยี่ยว (M16) ด้วย Chandra X-ray Observatory และ Hubble Space Telescope ของ NASA เจาะผ่านเสาก๊าซที่มืดครึ้ม เพื่อเผยว่ามีการกำเนิดดาวจำนวนมากน้อยเพียงใด ข้อมูลจาก Chandra (แดง, เขียว, และน้ำเงิน แสดงเอ็กซ์เรย์พลังงานต่ำ กลาง และสูง ตามลำดับ) แสดงถึงแหล่งที่มาของเอ็กซ์เรย์ไม่กี่แห่งในสิ่งที่เรียกว่า "เสาแห่งการกำเนิด" แสดงให้ทราบว่าการกำเนิดของดวงดาวมีอัตราสูงสุดในพื้นที่นี้เมื่อหลายล้านปีก่อน
ที่มา http://sky.google.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น