วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เมฆ


เมฆ คือ ละอองน้ำและเกล็ดน้ำแข็งที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ ที่เราสามารถมองเห็นได้
ไอน้ำที่ควบแน่น เป็นละอองน้ำ (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 0.01 มม) หรือ เป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเกาะตัวกันเป็นกลุ่มจะเห็นเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆนี้สะท้อนคลื่นแสงในแต่ละความยาวคลื่นในช่วงที่ตามองเห็นได้ ในระดับที่เท่า ๆ กัน จึงทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆนั้นเป็นสีขาว แต่ก็สามารถมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำ ถ้าหากเมฆนั้นมีความหนาแน่นสูงมากจนแสงผ่านไม่ได้
เมฆบนดาวดวงอื่นนั้นประกอบด้วยสารอื่นนอกจากน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพบรรยากาศของดาวนั้น (เช่นว่า มีก๊าซอะไรอยู่ และ ระดับอุณหภูมิ)

การแบ่งประเภท
แบ่งตามรูปร่างของเมฆ
เมฆนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ แบบเป็นชั้น (layered) ในแนวนอน และ แบบลอยตัวสูงขึ้น (convective) ในแนวตั้ง, โดยจะมีชื่อเรียกว่า สตราตัส (stratus ซึ่งหมายถึงลักษณะเป็นชั้น) และ คิวมูลัส (cumulus ซึ่งหมายถึงทับถมกันเป็นกอง) ตามลำดับ
นอกจากนี้แล้วยังมีคำที่ใช้ในการบอกลักษณะของเมฆ
สตราตัส (stratus) หมายถึง ลักษณะเป็นชั้น
คิวมูลัส (cumulus) หมายถึง ลักษณะเป็นกองสุม
ซีร์รัส (cirrus) หมายถึง เมฆชั้นสูง
อัลโต (alto) หมายถึง เมฆชั้นกลาง
นิมบัส (nimbus) หมายถึง ฝน

แบ่งตามระดับความสูง
เมฆยังอาจแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามระดับความสูงของเมฆ โดยระดับความสูงของเมฆนี้จะวัดจากฐานของก้อนเมฆ ไม่ได้วัดจากยอด โดย Luke Howard เป็นผู้นำเสนอวิธีการแบ่งกลุ่มแบบนี้ แก่ Askesian Society ในปี
ค.ศ. 1802
เมฆระดับสูง (ตระกูล A)
ก่อตัวที่ความสูงมากกว่า 16,500 ฟุต (5,000 เมตร) ในบริเวณที่อุณหภูมิต่ำในชั้นบรรยากาศ
โทรโพสเฟียร์ ที่ความสูงระดับนี้น้ำส่วนใหญ่นั้นจะแข็งตัว ดังนั้นเมฆจะประกอบด้วยผลึกน้ำแข็ง เมฆในชั้นนี้ส่วนใหญ่มักจะมีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ และ มักจะค่อนข้างโปร่งใส เมฆในกลุ่มนี้จะมีชื่อนำหน้าด้วย ซีร์- (cirr-)
ชนิดของเมฆ:
เมฆซีร์รัส
ซีร์รัส (cirrus - Ci): Cirrus, Cirrus uncinus, Cirrus Kelvin-Helmholtz เป็นเมฆที่ก่อตัวอยู่ในระดับสูงที่สุด มีลักษณะเป็นเส้นๆคล้ายใยไหมหรือเป็นริ้วบางๆหยิกหยองเป็นปอยเหมือนขนนก หรือบางครั้งมองเห็นเป็นริ้วโค้งๆยาวพาดกลางท้องฟ้า ลอยตัวอยู่ในบรรยากาศระดับสูงมากบนท้องฟ้า อุณหภูมิของอากาศบนนั้นหนาวจัดจนเมฆชนิดนี้ประกอบด้วยผลึกน้ำแข็งขนาดจิ๋วแทนที่จะเป็นหยดน้ำ บางครั้งอาจเรียกว่าเมฆหางม้า เพราะกระแสลมแรงจัดเบื้องบนพัดจนกลุ่มเมฆกระจายออกเป็นริ้วโค้งๆเหมือนกับหางของม้า เมฆซีร์รัสเป็นที่ปรากฏอยู่สูงขึ้นไปบนท้องฟ้า บ่งบอกว่าข้างบนโน้นมีลมแรงจัดมากเมฆชนิดนี้เป็นสัญญาณแสดงว่าอากาศแปรปรวนและอากาศอาจกำลังกำลังเลวลง
เมฆซีร์โรคิวมูลัส
ซีร์โรคิวมูลัส (cirrocumulus - Cc) เกิดจากผลึกน้ำแข็งเป็นเมฆ สีขาวโปร่งแสง บางครั้งจะปรากฏวงแหวนสีสวยงามขึ้นในเมฆซีร์โรสตราตัสหรือเมฆอัลโทรเตรตัสที่อยู่สูงๆ มีฐานสูงเฉลี่ย 7,000 เมตร มีลักษณะเป็นเกล็ดบางๆ หรือเป็นละอองคลื่นเล็กๆอยู่ติดกัน บางตอนอาจแยกจากกัน
แต่จะอยู่เรียงรายกันอย่างมีระเบียบ โปร่งแสงอาจมองเห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ได้
เมฆซีร์โรสตราตัส
ซีร์โรสตราตัส (cirrostratus - Cs) เกิดจากผลึกน้ำแข็งเป็นเมฆ สีขาวโปร่งแสง บางครั้งจะปรากฏวงแหวนสีสวยงามขึ้นในเมฆซีร์โรสตราตัสหรือเมฆอัลโทรสตราตัสที่อยู่สูงๆ มีฐานสูงเฉลี่ย 8,500 เมตร มีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบางๆ โปร่งแสงเหมือนม่านติดต่อกันเป็นแผ่นในระดับสูง
มีสีขาวหรือน้ำเงินจาง ปกคลุมเต็มท้องฟ้าหรือเพียงบางส่วน เป็นเมฆที่ทำให้เกิดวงแสงสีขาวหรือมีสี(Halo) รอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ได้
คอนเทรล (Contrail)
เมฆระดับกลาง (ตระกูล B)
ก่อตัวที่ความสูงระหว่าง 6,500 และ 16,500 ฟุต (ระหว่าง 2,000 และ 5,000 เมตร) เมฆจะประกอบด้วยละอองน้ำ และ ละอองน้ำเย็นยิ่งยวด ชื่อของเมฆในชั้นนี้จะนำหน้าด้วย อัลโต- (alto-) ชนิดของเมฆ:
เมฆอัลโตคิวมูลัส
อัลโตคิวมูลัส (altocumulus - Ac): Altocumulus, Altocumulus undulatus, Altocumulus mackerel sky, Altocumulus castellanus, Altocumulus lenticularis มีลักษณะอยู่เป็นกลุ่มๆ คล้ายฝูงแกะ มีสีขาว บางครั้งสีเทา มีการจัดตัวเป็นแถวๆหรือเป็นคลื่น เป็นชั้นๆ มีเงาเมฆมีลักษณะเป็นเกล็ด เป็นก้อนม้วนตัว (roll) อาจมี 2 ชั้นหรือมากกว่าขึ้นไป อาจเกิด
พระอาทิตย์ทรงกลด(corona)
เมฆอัลโตสตราตัส
อัลโตสตราตัส (altostratus - As): Altostratus, Altostratus undulatus มีลักษณะเป็นแผ่นหนาบางสม่ำเสมอในชั้นกลางของบรรยากาศ มองดูเรียบเป็นปุยหรือฝอยละเอียดแผ่ออกเป็นพืด เป็นลูกคลื่น ปกคลุมเต็มท้องฟ้า มีสีเทาหรือน้ำเงินอ่อน และอาจมีบางส่วนที่ บางพอที่แสงอาทิตย์จะส่องผ่านลงมายังพื้นดินได้ อาจมีแสงทรงกลด
เมฆระดับต่ำ (ตระกูล C)
ก่อตัวที่ความสูงต่ำกว่า 6,500 ฟุต (2,000 เมตร) และ รวมถึง
สตราตัส (stratus) เมฆสตราตัสที่ลอยตัวอยู่ระดับพื้นดินเรียก หมอกชนิดของเมฆ:
เมฆสตราตัส
สตราตัส (Stratus - St) มีลักษณะเป็นแผ่นหนาๆสม่ำเสมอในชั้นต่ำของบรรยากาศ ใกล้ผิวโลกเหมือนหมอก มีสีเทา มองไม่เห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ไม่ทำให้เกิดวงแสง (Halo)เว้นแต่เมื่อมีอุณหภูมิต่ำมากก็อาจเกิดได้
เมฆสตราโตคิวมูลัส
สตราโตคิวมูลัส (Stratocumulus - Sc)มีสีเทา ลักษณะอ่อนนุ่ม เป็นก้อนกลมเรียงติดๆกันทั้งทางแนวตั้ง และทางแนวนอนทำให้มองเห็นเป็นลอนเชื่อมติดต่อกันไป
เมฆนิมโบสตราตัส
นิมโบสตราตัส (Nimbostratus - Ns) มีลักษณะเป็นแผ่นหนาสีเทาดำ เป็นแนวยาวติดต่อกัน แผ่กว้างออกไป ไม่เป็นรูปร่าง เป็นเมฆที่ทำให้เกิดฝนตก จึงเรียกกันว่า "เมฆฝน" เมฆชนิดนี้จะไม่มีฟ้าแลบฟ้าร้อง เกิดเฉพาะในเขตอบอุ่นเท่านั้น
เมฆแนวตั้ง (ตระกูล D)
เป็นเมฆที่มีแนวก่อตัวในแนวตั้ง ซึ่งทำให้เมฆมีความสูงจากฐาน
เมฆคิวมูโลนิมบัส
คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus - Cb): Cumulonimbus, Cumulonimbus incus, Cumulonimbus calvus, Cumulonimbus with mammatus ลักษณะเป็นเมฆก้อนใหญ่รูปร่างคล้ายภูเขาใหญ่ มียอดเมฆแผ่ออกเป็นรูปร่างคล้ายทั่ง (anvil)ฐานเมฆต่ำมีสีดำมืด เป็นเมฆหนา มืดทึบ มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง อาจอยู่กระจัดกระจายหรือรวมกันอยู่ มักมีฝนตกลงมา เรียกเมฆชนิดนี้ว่า "เมฆฟ้าคะนอง"
เมฆคิวมูลัส
คิวมูลัส(Cumulus) ลักษณะเป็นเมฆก้อนหนามียอดมนกลมคล้ายกะหล่ำดอก เห็นขอบนอกได้ชัดเจน ส่วนฐานมีสีค่อนข้างดำ ก่อตัวในทางตั้ง กระจัดกระจายเหมือนสำลี ถ้าเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆหรือลอยอยู่โดดเดี่ยว แสดงถึงสภาวะอากาศดี แดดจัด ถ้ามีขนาดก้อนเมฆใหญ่ ก็อาจมีฝนตกภายใต้ก้อนเมฆ ลักษณะเป็นฝนเฉพาะแห่ง

สีของเมฆ
สีของเมฆนั้นบ่งบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเมฆ
เมฆเกิดจากไอน้ำลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง เย็นตัวลง และ ควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก ละอองน้ำเหล่านี้มีความหนาแน่นสูง แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องทะลุผ่านไปได้ไกลภายในกลุ่มละอองน้ำนี้ จึงเกิดการสะท้อนของแสง ทำให้เราเห็นเป็นก้อนเมฆสีขาว ในขณะที่ก้อนเมฆกลั่นตัวหนาแน่นขึ้น ละอองน้ำเกิดการรวมตัวขนาดใหญ่ขึ้นจนในที่สุดตกลงมาเป็น
ฝน ในระหว่างกระบวนการนี้ละอองน้ำในก้อนเมฆซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น จะมีช่องว่างระหว่างหยดน้ำมากขึ้น ทำให้แสงสามารถส่องทะลุผ่านไปได้มากขึ้น ซึ่งถ้าก้อนเมฆนั้นมีขนาดใหญ่พอ และ ช่องว่างระหว่างหยดน้ำนั้นมากพอ แสงที่ผ่านเข้าไปก็จะถูกซึมซับไปในก้อนเมฆและสะท้อนกลับออกมาน้อยมาก ซึ่งการซึมซับและการสะท้อนของแสงนี้ส่งผลให้เราเห็นเมฆตั้งแต่ สีขาว สีเทา ไปจนถึง สีดำ
สีของเมฆที่ใช้ในการบอกสภาพอากาศ:
เมฆสีเขียวจางๆ นั้นเกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์ เมื่อตกกระทบน้ำแข็ง เมฆคิวมูโลนิมบัสที่มีสีเขียว นั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของ พายุฝน พายุลูกเห็บ ลมที่รุนแรง หรือ พายุทอร์นาโด
เมฆสีเหลือง ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ในช่วงที่เกิดไฟป่าได้ง่าย สีเหลืองนั้นเกิดจากฝุ่นควันในอากาศ
เมฆสีแดง สีส้ม หรือ สีชมพู นั้นโดยปกติเกิดในช่วง พระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก เกิดจากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ ไม่ได้เกิดจากเมฆโดยตรง เมฆเพียงเป็นตัวสะท้อนแสงนี้เท่านั้น ในกรณีที่มีพายุฝนขนาดใหญ่ในช่วงเดียวกันจะทำให้เห็นเมฆ เป็นสีแดงเข้ม เหมือนสีเลือด

เมื่อน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว อะไรจะเกิดขึ้น!


ยุคน้ำแข็งยุคสุดท้ายบนโลกผืนแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็ง (Glaciers) จำนวน 32 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจุบันนี้ธารน้ำแข็งเหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ หากธารน้ำแข็งทั้งหมดบนโลกและน้ำแข็งอื่นๆ บนพื้นผิวละลายไปจนหมด ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 270 ฟุต หรือ 70 เมตร
ธารน้ำแข็งอาจมีอายุยาวนานหลายล้านปี การเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่มขึ้นหรือการหดตัวของธารน้ำแข็งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ปกติธารน้ำแข็งจะไหลหรือเคลื่อนที่อย่างช้าๆ และใช้เวลาเป็นศตวรรษหรือนับพันปี ทว่าขณะนี้มันเปลี่ยนแปลงภายในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น
ปี ค.ศ.2003 ดาวเทียมตรวจสภาพแวดล้อม "เทอรา" ขององค์การนาซ่าตรวจพบว่าน้ำแข็งบริเวณอาร์กติกเซอร์เคิลขั้วโลกเหนือละลายไปเป็นจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โครงการเทอรากล่าวว่า นี่คือหลักฐานแสดงว่าโลกร้อนขึ้น ซึ่งเกิดจากน้ำมือของมนุษย์และเป็นสัญญาณในระดับอันตราย
ต่อมาในปี ค.ศ.2004 นักวิทยาศาสตร์สองทีมเผยผลการศึกษาสภาวะโลกร้อนขึ้น ซึ่งได้ผลตรงกันว่าอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นราว 1 องศาฟาเรนไฮต์ มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1900 และในบริเวณอาร์กติกอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 4-7 องศาฟาเรนไฮต์ ในรอบ 50 ปีเลยทีเดียว มันทำให้ปริมาณหิมะลดลงและธารน้ำแข็งละลายลงสู่ทะเล การเปลี่ยนแปลงนี้ยังคุกคามต่อชีวิตหมีขั้วโลก 25 ปีที่ผ่านมา พวกมันลดจำนวนลง 15 เปอร์เซ็นต์ และน้ำหนักตัวลดลดลงด้วย
ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธารน้ำแข็งบริเวณแอนตาร์กติกาขั้วโลกใต้ และอาร์กติกขั้วโลกเหนือละลายอย่างรวดเร็ว รวมทั้งแผ่นน้ำแข็งชายฝั่งก็ละลายจนแตกออกเป็นภูเขาน้ำแข็งขนาดมหึมาหลายก้อน
การศึกษาล่าสุดโดยทีมวิจัย British Antarctic Survey(BAS) นำโดย อลิสัน คุก ซึ่งตีพิมพ์ผลงานในนิตยสาร journal Science ฉบับวันที่ 22 เมษายน 2005 เผยว่า ธารน้ำแข็งจำนวน 84 เปอร์เซ็นต์ ในบริเวณบางส่วนของแอนตาร์กติกาหดตัวจากการละลายตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ด้วยสาเหตุอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทีมวิจัยบาสศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศจำนวน 2,000 ภาพ ซึ่งบางภาพถ่ายไว้ตั้งแต่ทศวรรษ 1940 รวมทั้งภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วย
คุกกล่าวว่า ครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ธารน้ำแข็งเกือบทั้งหมดบริเวณแอนตาร์กติกาซึ่งไหลลงจากภูเขาสู่ทะเลยาวขึ้นอย่างช้าๆ ตลอดมา ทว่า เดี๋ยวนี้มันกลับตรงกันข้าม "5 ปีหลังธารน้ำแข็งส่วนใหญ่หดตัวอย่างรวดเร็ว" เดวิด วอนจ์ นักธารน้ำแข็งวิทยา หนึ่งในทีมสำรวจบอกว่า "การหดตัวของธารน้ำแข็งจำนวนมากบริเวณคาบสมุทรแอนตาร์กติกาในช่วงเวลา 50 ปี มีสาเหตุใหญ่จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ"
ทีมวิจัยบาสเคยทำนายไว้ในปี ค.ศ. 1998 ว่า แผ่นน้ำแข็งชายฝั่งหลายก้อนรอบๆ คาบสมุทรแอนตาร์กติกาจะละลายเพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น
คำทำนายนี้กลายเป็นความจริงและรุนแรงกว่าที่คาดหมายไว้มาก มันเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 7 มีนาคม 2002 แผ่นน้ำแข็งชายฝั่งชื่อ ลาร์เซน บี (Larsen B ice shelf) ขนาด 3,250 ตารางกิโลเมตร และหนา 200 เมตร ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของคาบสมุทรแอนตาร์กติกาแตกออกเป็นภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ และเศษชิ้นเล็กชิ้นน้อยอีกนับพันชิ้น ชิ้นที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดยาว 100 ไมล์ ชื่อ B15A และกลายเป็นภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และล่าสุดเมื่อวันที่ 3 1 มกราคม 2005 แผ่นน้ำแข็งลาร์เซน บี แตกอีกครั้งหนึ่ง ส่วนที่แตกออกกลายเป็นภูเขาน้ำแข็ง ขนาด 16 คูณ 35 ตารางไมล์ ชื่อ A-53
ทีมวิจัยบาสเชื่อว่า อากาศบริเวณคาบสมุทรแอนตาร์กติกาคงที่เป็นเวลาอย่างน้อยที่สุด 1800 ปี แต่ปัจจุบันนี้มันกำลังเปลี่ยนแปลงไป 50 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิบริเวณนี้สูงขึ้น 4.5 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 2.5 องศาเซลเซียส มากกว่าพื้นที่อื่นๆ ในบริเวณขั้วโลกใต้
ทางด้านอาร์กติกขั้วโลกเหนือ ธารน้ำแข็งก็หดสั้นลงและละลายอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันกับขั้วโลกใต้
ปลายเดือน ธันวาคม 2004 ทีมสำรวจธารน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์รายงานว่า ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดของกรีนแลนด์ชื่อ "Jakobshavn Isbrae" มีอัตราการละลายเป็นสองเท่าจากเดิมและไหลลงทะเลอย่างรวดเร็ว ธารน้ำแข็งนี้เคยไหลลงทะเลในอัตราความเร็ว 3.45 ไมล์ต่อปี ในระหว่างปี 1992-1997 แต่ในปี 2003 มันไหลด้วยอัตราความเร็ว 7.83 ไมล์ต่อปี และความหนาของมันลดลงราว 49 ฟุตในทุกๆ ปีนับตั้งแต่ปี 1997เป็นต้นมา
ผลจากการละลายอย่างรวดเร็วนี้ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น .002 นิ้วต่อปี(.06 มิลิเมตร) หรือราว 4 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลในศตวรรษที่ 20 และธารน้ำแข็งอื่นๆ ในกรีนแลนด์ก็บางลงประมาณ 1 เมตรต่อปี ซึ่งเกิดจากการละลายด้วยสาเหตุโลกร้อนขึ้น
โลกร้อนขึ้นเป็นผลมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจก(greenhouse effect) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ชั้นบรรยากาศของโลกถูกห่อหุ้มด้วยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งกั้นรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ตกลงบนผิวโลกไม่ให้สะท้อนกลับขึ้นสู่อวกาศ เหมือนเรือนกระจกที่ใช้เพาะปลูกต้นไม้ในประเทศเขตหนาว ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านเข้าไปภายในเรือนกระจกได้แต่ความร้อนยังคงอยู่ภายใน
ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญมี 6 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO 2) ก๊าซมีเทน(CH 4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์(N 2 O) ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน(HFCS) ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน(CFCS) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์(SF6) โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและยานยนต์เพิ่มปริมาณจาก 278 ส่วนในล้านส่วนก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็น 380 ส่วนในล้านส่วนในปี 2003
ผลการศึกษาภาวะโลกร้อนชิ้นล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์นาซ่า มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยนิวยอร์กและห้องปฏิบัติการลอว์เรนซ์เบิร์กเลย์ ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารไซน์ ฉบับล่าสุดสรุปว่า โลกดูดกลืนพลังงานจากดวงอาทิตย์มากกว่าที่สะท้อนหรือแผ่กลับไปสู่อวกาศทำให้พลังงานอยู่ในสภาวะ "ไม่สมดุล" ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น ความไม่สมดุลของพลังงานมีค่าเท่ากับ 0.85 วัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งจะทำให้โลกร้อนขึ้น 0.6 องศาเซลเซียส หรือ 1 องศาฟาเรนไฮต์
เมื่อสิ้นสุดศตวรรษนี้
จิม แฮนเซน หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ จาก NASA"s Goddard Institute for Space Studies อธิบายว่า ความไม่สมดุลของพลังงานเป็นผลมาจากพอลลูชั่นในชั้นบรรยากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน โอโซน และอนุภาคคาร์บอนดำ พอลลูชั่นเหล่านี้กั้นความร้อนที่แผ่จากโลกที่ไปยังอวกาศ และยังเพิ่มการดูดกลืนแสงอาทิตย์อีกด้วย
เมื่อ 30 ปีก่อน นักอุตุนิยมวิทยาทำนายไว้ว่าภาวะโลกร้อนจะปรากฏเด่นชัดในบริเวณขั้วโลก ขณะนี้มันกลายเป็นความจริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งที่ขั้วโลกไม่เพียงแต่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเท่านั้น แต่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางเคมีในมหาสมุทร การไหลเวียนของบรรยากาศและมหาสมุทรและระบบอากาศของโลกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อุกกาบาตในประเทศไทย

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม 2550 เวลาประมาณ 19.40 น. ได้มีรายงานการเห็นลูกไฟขนาดใหญ่ ส่องแสงสว่างสีเขียวอมน้ำเงินเจิดจ้าสวยงามมาก เคลื่อนผ่านท้องฟ้าโดยสามารถเห็นได้ในพื้นที่ภาคกลางตอนบนถึงภาคเหนือ วันรุ่งขึ้นมีชาวบ้านที่ จ.ตาก อ้างว่าเก็บก้อนหินที่เชื่อว่าเป็นอุกกาบาตได้ เป็นข่าวที่สร้างความแตกตื่นอยู่ไม่กี่วันจนกระทั่งกรมทรัพยากรธรณีได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางไปตรวจพิสูจน์ พบก้อนหินดังกล่าวเป็นสีขาว ผิวขรุขระ มีรูพรุนทั่วทั้งก้อน เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว น้ำหนัก 4.5 กิโลกรัม ซึ่งกรมทรัพยากรธรณีได้วิเคราะห์และสรุปว่าเป็นทูฟา (Tufa) ตะกอนเคมีที่ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีหรือการระเหยของน้ำจนทำให้เกิดการพอกเป็นเปลือกชั้นบาง ๆ โดยมักพบบริเวณน้ำพุ ธารน้ำไหล หรือในถ้ำ ไม่มีลักษณะที่แสดงว่าเป็นอุกกาบาตจากนอกโลกแต่อย่างใด
ดาวตกที่สว่างมากซึ่งนักดาราศาสตร์เรียกว่าลูกไฟหรือทับศัพท์ว่าไฟร์บอล (fireball) อย่างที่เห็นในคืนวันที่ 14 กรกฎาคมนั้นโดยปกติไม่ค่อยมีให้เราได้เห็นบ่อย ๆ ส่วนอุกกาบาตที่ตกลงสู่พื้นโลกยิ่งมีพบเห็นได้น้อยมาก แต่ถ้าพิจารณาดูแล้วทั้งสองอย่างอาจมีอยู่พอสมควรแต่ส่วนใหญ่ไปตกในพื้นที่ป่า มหาสมุทร หรือสถานที่ที่ไม่มีคนอาศัยอยู่
ก้อนหินจากอวกาศที่ตกลงบนพื้นโลกซึ่งเราเรียกว่าอุกกาบาตนั้นเป็นชิ้นส่วนของวัตถุในระบบสุริยะ เช่น ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ อุกกาบาตเหล่านี้ช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาการก่อกำเนิดและความเป็นมาของระบบสุริยะที่เราอยู่ อาจแบ่งประเภทของอุกกาบาตที่พบได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ อุกกาบาตหิน อุกกาบาตเหล็ก และอุกกาบาตเหล็กปนหิน นับถึงปัจจุบันประเทศไทยมีรายงานการค้นพบก้อนอุกกาบาตที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นของจริงบันทึกไว้ 3 ครั้ง ได้แก่ อุกกาบาตนครปฐม (2466) อุกกาบาตเชียงคาน (2524) และอุกกาบาตบ้านร่องดู่ (2536) ข้อมูลด้านล่างนี้บางส่วนนำมาจากบทความของคุณพิชิต อิทธิศานต์ ตีพิมพ์ในนิตยสารอัพเดท ฉบับกรกฎาคม 2536 และจากฐานข้อมูลอุกกาบาตของสหรัฐอเมริกาที่ค้นได้จากอินเทอร์เน็ต
อุกกาบาตนครปฐม
อุกกาบาตนครปฐมตกลงมาจากฟ้าเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของคืนวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2466 โดยทะลุผ่านหลังคายุ้งข้าวของนายยอด ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม อุกกาบาตนครปฐมมีสองก้อน ก้อนเล็กหนัก 9.6 กิโลกรัม รวมสองก้อนหนักถึง 32.2 กิโลกรัม จัดเป็นอุกกาบาตหิน มีเหล็กเป็นส่วนผสมประมาณ 22% รัฐบาลไทยได้อนุญาตให้สหรัฐอเมริกาขอยืมก้อนเล็กไปศึกษา และได้บริจาคชิ้นส่วนหนัก 413 กรัมให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสหรัฐฯ
อุกกาบาตเชียงคาน
อุกกาบาตเชียงคานเป็นอุกกาบาตหิน ประกอบด้วยอุกกาบาตก้อนเล็ก ๆ หลายก้อน ค้นพบหลังจากมีลูกไฟขนาดใหญ่สว่างกว่าแสงจันทร์ พุ่งผ่านท้องฟ้าภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเมื่อเวลา 5.30 น. ของเช้ามืดวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2524 ลูกไฟนั้นไประเบิดเหนือท้องฟ้าอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ใกล้พรมแดนไทย-ลาว มีเสียงดังกึกก้องกัมปนาทได้ยินไปทั่วจังหวัดเลยและจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง อุกกาบาตตกกระจัดกระจายในพื้นที่ประมาณ 24 ตารางกิโลเมตร
ทีมสำรวจจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ดร.ระวี ภาวิไล เก็บรวบรวมอุกกาบาตได้ 31 ก้อน น้ำหนักรวม 367 กรัม ลูกใหญ่ที่สุดหนัก 51.3 กรัม มีข้อสันนิษฐานว่าหากอุกกาบาตเชียงคานไม่ได้เป็นชิ้นส่วนจากแถบดาวเคราะห์น้อยหลักซึ่งโคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี มีความเป็นไปได้ว่ามันอาจจะเป็นชิ้นส่วนของดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล ต้นกำเนิดของฝนดาวตกสิงโต ฝนดาวตกที่เกิดเป็นประจำในวันที่ 16-17 พฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งประเทศไทยและเอเชียมองเห็นได้มากและชัดเจนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 และ 2544
อุกกาบาตบ้านร่องดู่
อุกกาบาตบ้านร่องดู่เป็นอุกกาบาตลูกสุดท้ายที่มีรายงานพบในประเทศไทย ตกลงมาในคืนวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2536 เวลาประมาณ 20.45 น. บริเวณพื้นที่ใกล้บ้านของนายสาลีและนางคำหล้า รักก้อน บ้านร่องดู่ ตำบลลานบ่า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ การตรวจสอบโดยนายสิโรตม์ ศัลยพงษ์ และ ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล ฝ่ายวิจัยธรณีวิทยา กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ยืนยันว่าเป็นอุกกาบาตเหล็ก มีประกายโลหะและความถ่วงจำเพาะสูง พบริ้วโลหะเป็นทางบนผิวอุกกาบาตซึ่งเกิดจากการเสียดสีกับบรรยากาศโลก ผิวนอกสุดมีรอยไหม้ ด้านหนึ่งมีรอยยุบบุบแบบก้นหม้อ อีกด้านฉีกขาดเป็นร่องหลืบ ลักษณะทั่วไปคล้ายตะกรันโลหะ ต่างกันที่ไม่มีรูพรุน
รูปร่างของอุกกาบาตบ้านร่องดู่คล้ายลูกสะบ้า กว้าง 7.5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว หนา 4.5 นิ้ว น้ำหนัก 16.7 กิโลกรัม ความถ่วงจำเพาะ 8.08 บริเวณที่พบอุกกาบาตเป็นที่ดอนดินปนทราย เนื้อแน่นปานกลาง ความชื้นต่ำ ลูกอุกกาบาตมุดลงไปในดิน ขณะไปตรวจสอบซึ่งเป็นเวลาหลังจากเอาลูกอุกกาบาตออกมาแล้วพบว่าบริเวณนั้นเป็นหลุมลึก 110 เมตร ประเมินได้คร่าว ๆ ว่าอุกกาบาตพุ่งมาจากทิศใต้เฉียงไปทางตะวันตก 15 องศา และพุ่งลงมาโดยทำมุมประมาณ 80 องศากับพื้นราบ
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นอุกกาบาต?
เบื้องต้นมีวิธีสังเกตก้อนหินที่อาจเป็นลูกอุกกาบาตได้ง่าย ๆ เช่น ลักษณะแตกต่างจากก้อนหินที่อยู่ในบริเวณข้างเคียง น้ำหนักของวัตถุนั้นผิดปกติ มีความแข็งมากเป็นพิเศษ ผิวไหม้เกรียมคล้ายถูกเผา อุกกาบาตส่วนใหญ่มีปฏิกิริยากับแม่เหล็กเนื่องจากมีส่วนผสมของเหล็กและนิกเกิล

ความลี้ลับของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นอาณาบริเวณส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอ็ตแลนติคภาคตะวันตก พื้นที่ทั้งหมดเริ่มจาก ตอนหนือของเบอร์มิวดาไปถึงตอนใต้ของรัฐฟลอริดาและจากฟลอริดามุ่งตรงไปทางตะวันออกทำมุมสี่สิบองศากับเส้นรุ้ง ผ่านบาฮามัสและเปอร์โตริโก จากนั้นก็ย้อนเฉียงกลับไปสู่ทางใต้ตอนเหนือของเบอร์มิวดาอีกซึ่งทำให้อาณาบริเวณแห่งนี้ กลายเป็นรูปสามเหลี่ยมและอาณาบริเวณรูปสามเหลี่ยมแห่งนี้เองที่เป็นแหล่งกำเนิด ปรากฏการณ์ อันลี้ลับ มหัศจรรย์ขึ้น ในยุคอวกาศของชาวเราในปัจจุบัน เป็นสิ่งลึกลับและเหลือเชื่อหากจะบอก ท่านว่า เริ่มตั้งแต่หลังสงครามโลก ครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1945 มาจนถึงปัจจุบัน เครื่องบินจำนวนกว่า 100 เครื่องและเรือ เดินสมุทร จำนวนอีกมากหลายได้ หายไปในบรรยากาศ และพื้นทะเลของ สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาแห่งนี้ โดยไม่มีร่องรอย ชีวิตมนุษย์จำนวนพัน ในระยะเวลา กว่า 20 ปีที่ผ่านมา ได้หายไปพร้อมกับ พาหนะโดยไม่มีซากศพ แม้แต่รายเดียว หรือเศษชิ้นส่วนใด ๆ ของเรือ หรือ เครื่องบินที่หายไปเหลือให้เห็น การหายสาบสูญของเรือ เครื่องบิน และชีวิตมนุษย์ ในบริเวณดินแดนสามเหลี่ยม- เบอร์มิวดา ยังคงปรากฏอยู่ต่อไป และมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่ชาติต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสูญเสียเหล่านี้ ต่างก็พยายามดำเนินการค้นคว้า หาสาเหตุ แห่งปรากฏการณ์อันประหลาดและลึกลับนี้อย่างเร่งด่วน แต่ก็ไม่มีใคร สามารถบอกสาเหตุ และหาทางป้องกัน จากภัยที่เกิดขึ้นในบริเวณท้องทะเลแห่งนี้ได้ไม่
เครื่องบินที่หายไปเหนือพื้นทะเลแห่งนี้ส่วนมากก่อนที่จะหายการติดต่อกับฐานปฏิบัติการณ์ หรือสถานีปลายทาง เป็นไปอย่างปกติ และสภาพของบรรยากาศ และทัศนะวิสัย ก็สงบและ แจ่มใสดี ไม่มีวี่แววของพายุร้ายใด ๆ แต่แล้ว เมื่อถึงบทจะหายเครื่องบินเหล่านั้นก็จะหายไป อย่างฉับพลันโดยไม่มีร่องรอย ซึ่งนักบินก็ไม่มีโอกาสที่จะแจ้งข่าวทาง วิทยุให้หน่วยควบคุม การบินทราบได้ แต่ ก็มีเป็นจำนวนมากเหมือนกัน ก่อนที่เครื่องบินจะหายสาบสูญ นักบิน มีเวลา พอที่จะแจ้งข่าวผิดปกติ มายังฐานปฏิบัติการได้ ซึ่งทุกรายต่างก็แจ้งตรงกันทั้งหมดว่า ไม่สามารถควบคุมกลไกต่าง ๆ ให้ดำเนินไปตามปกติได้ เข็มทิศประจำเครื่องจะหมุน ปั่น จะไม่สามารถบอกทิศทางได้ ท้องฟ้าจะกลายเป็นสีเหลือง และมองดูคล้ายหมอกหนาทีบ ทั้ง ๆ ที่เป็นวันที่บรรยากาศแจ่มใส และแดดส่องจ้ามาก่อน และท้องทะเลซึ่งเงียบสงบ กลับปั่นป่วน ขึ้นมาโดยไม่อาจจะทราบสาเหตุได้
อุบัติการณ์ ลึกลับที่ไม่อาจให้คำอธิบายได้ เกี่ยวกับการสาบสูญ ของเรือเดินสมุทร และ เครื่องบินเป็นจำนวนมาก ในดินแดนแห่งสามเหลี่ยมเบอร์มิวดายังคงเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ได้ขาด จนกระทั่งในปัจจุบัน ทุกครั้งที่ได้รับรายงานการ สูญหาย หน่วยยามฝั่งที่ เจ็ด ของกองทัพเรือสหรัฐ จะทำการค้นหาร่องรอยอย่างละเอียดละออ แต่ก็ประสบความ ล้มเหลว ที่จะพบพยานหลักฐาน ซึ่งจะนำไปสู่การไขปัญหาลึกลับนี้ได้ทุกครั้ง และในที่สุด กองทัพเรือสหรัฐ ก็ได้เก็บเรื่องเหล่านี ้ไว้เป็นความลับ ไม่ยอมเปิดเผยหรือให้คำวิจารณ์ใด ๆ แก่ประชาชน ที่อยากรู้อยากเห็นว่า อุบัติการณ์ ลึกลับเหล่านั้น เกี่ยวข้องกับความอาถรรพ์ของดินแดนแห่งสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาหรือไม่ แต่ทั้ง ๆ ที่กองทัพเรือสหรัฐพยายามจะปกปิด เรื่อราวเหล่านี้ไว้ ประชาชนทั่วไปก็เริ่มรู้ระแคะระคาย ต่าง ๆ และเชื่อว่า จะต้องมี แรงอาถรรพ์ หรือพลังอำนาจอันลึกลับ อย่างหนึ่งอย่างใด ภายในบริเวณ สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาอย่างแน่นอน และยิ่งปรากฏว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีข่าวรายงานว่า มี นักบิน และนักเดินเรือบางคนได้รอดชีวิตมาจากปรากฏการณ์สยองขวัญ ในดินแดนของ สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา จึงทำให้ เกิดการฮือ ฮากันใหญ่ในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ดี จวบจน กระทั่งบัดนี้หาได้มีผู้ใด ที่สามารถให้คำอธิบายแจ่มชัด เกี่ยวแก่ความลึกลับและ ความอาถรรพ์ของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาได้ไม่ และการสาบสูญ ก็ยังคงปรากฏอยู่ต่อไป โดยไม่มีทางป้องกันหรือขัดขวางได้
มีผู้ให้ความคิดเห็นและคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป บ้างก ็ว่าเนื่องมา จากความปั่นป่วน ของท้องน้ำ ที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด จากแผ่นดินไหว ใต้มหาสมุทร หรือเกิดจากอุกาบาตเป็นจำนวนมากในบริเวณนั้น ได้พุงเข้าชนเครื่องบิน และทำให้เกิดระเบิดขึ้นมา รังควานเป็นครั้งเป็นคราว สำหรับนักวิทยาศาสตร์ ให้คำอธิบาย ที่อาจ เป็นไปได้ว่า เครื่องบินและเรือเหล่านั้น ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปยังอีกมิติหนึ่ง ด้วย การกระทำของสิ่งมีชีวิตที่มีปัญญาสูง เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง อีก ทฤษฏีหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ได้ให้เหตุผลว่า เครื่องบินอาจพุ่งดิ่งลงสู่ทะเล เพราะแรงดึงดูด ของ สนามแม่เหล็ก ไฟฟ้าหรือแรงโน้มถ่วงของโลก ที่เกิดจากฝีมือการกระทำของสิ่งมีชีวิต ที่มีปัญญาสูง เมื่อเครืองบิน นั้นร่อนลงสู่พื้นน้ำนักบินและลูกเรือก็จะถูกจับตัวโดย มนุษย์จากจานบิน (UFO) ที่ถูกควบคุมโดยมนุษย์อีกพวกหนึ่ง ที่ไม่คุ้นเคยกับชาวโลก ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ที่เหลือรอดมีชีวิต สืบต่อกันมาจากสงครามนิวเคลียร์มหาประลัย ที่เกิดขึ้น ในกาลก่อน หรือเป็นมนุษย์จากอวกาศนอกโลก หรือมนุษย์ในอนาคต ที่ต้องการ รวบรวมตัวอย่างการดำรงชีวิตของ ชาวโลก เพื่อการศึกษาค้นคว้า หรือป้องกันภัย ที่จะเกิด จากอาวุธนิวเคลียร์ ในอนาคตอย่างใดอย่างหนึ่ง
มีอยู่หลายกรณีเกี่ยวกับการสืบสวนความลึกลับของเรื่องนี้ ที่เจ้าหน้าที่มุ่งตรงใน ประเด็นซึ่งเกี่ยวกับท้องทะเล โดยเฉพาะเพราะแม้ว่า เราจะอยู่ในสมัยที่กำลังก้าวเข้าสู่ อวกาศก็ตาม แต่ความลึกลับของท้องทะเล ยังคงเป็นสิ่งมืดมน สำหรับพวกชาวโลกอยู่ ก่อน อื่นเราจะต้องรับความจริงที่ว่า 3 ใน 5 ส่วนของพื้นใต้มหาสมุทร เรายังรู้จักกันน้อยกว่า ปล่องภูเขาไฟในดวงจันทร์ หรือพื้นราบบนดาวอังคารเสียอีก เรามีแต่แผนที่ทางทะเล ที่เขียนขึ้นอย่างหยาบ ๆ จากการ สำรวจโดยใช้เสียงสะท้อนของโซน่า ใช้เครื่องดำน้ำลึก หรือเรือดำน้ำที่มีเขตจำกัดสำรวจได้เฉพาะพื้นน้ำที่ไม่ลึกนัก เท่านั้น และความประสงค์ ส่วนใหญ่ จะมุ่งเฉพาะการค้นหาแหล่งน้ำมัน และทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้นเอง เรายัง ไม่อาจจะทราบได้ว่า ในส่วนก้นบึ้งที่ลึกที่สุด มีอะไรที่จะสร้างความประหลาดใจ อย่างใหญ่หลวงให้แก่พวกเราบ้าง พื้นทะเลลึกและหุบเหวใต้ท้องทะเล อาจจะเป็นที่อาศัย ของสิ่งมีชีวิตที่มีมันสมองและฉลาดเกินกว่าเราจะคาดคิด ก็เป็นได้
ความลึ้ลับมหัศจรรย์ ใต้ท้องทะเล หาได้หยุดยั้งเพียงเท่าที่กล่าวมาแล้วไม่ นิยายปรัมปรา เล่าลือสืบต่อเนื่องกันมา เกี่ยวกับพิภพ และสัตว์ประหลาดใต้ท้องทะเล โดย ไม่มีวันจบสิ้น และยิ่งการค้นพบหลักฐานซากเมืองโบราณ ใต้พื้นน้ำ ลึกเป็นพัน ๆ ฟุต ในหลายส่วนของพื้นมหาสมุทรทั่วโลก ยิ่งทำให้เรื่องพิลึกกึกกือได้รับความสนใจจาก ความอยากรู้ อยากเห็นของชาวโลกยิ่งขึ้น เราเคยทราบวัฒนธรรม และความรุ่งโรจน์ ของ ชาวเมืองแอตแลนติส โบราณจากบันทึกของ มหาปราชญ์เพลโตเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว ปัจจุบันนักโบราณคดีและนักภูมิศาสตร์ ต่างเชื่อมั่นว่าอาณาจักรแอตแลนติก อันเคยรุ่งเรือง ด้วยอารยธรรมมาก่อนนั้นมีจริง ขณะนี้เมืองทั้งเมืองได้จมหายอยู่ใต้พื้นมหาสมุทร แอตแลนติคที่ใดที่หนึ่ง
อีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความประหลาดใจให้แก่โคลัมบัสเมื่อห้าร้อยปีก่อน คือส่วนหนึ่งของ กระแสน้ำอุ่น กัลฟ์ตรีม ที่เรียกกันว่าสายน้ำขาว พื้นน้ำบริเวณนี้จะมองเห็นสุกใส ด้วย แสงเรืองเป็นทางยาว ระยะทางเป็นไมล์ ๆ ใกล้ ๆ กับ บาฮามัส ซึ่งในปัจจุบันแสงเรือง บนพื้นน้ำเหล่านี้ก็ยังคงปรากฏอยู่การตรวจสอบของนักวิทยาศาสตร์ ก็ยังไม่ทราบแน่ชัด ว่าเกิดการเรืองแสงของจุลินทรีย์ในน้ำที่ถูกฝูงปลารบกวนหรือเป็นแสงเรืองที่เกิดจาก กัมมันตภาพรังสี หรืออาจเป็น การเคลื่อนไหวของสัตว์ประหลาดขนาดมหึมาใต้ท้องทะเลกันแน่ และยิ่งกว่านั้น มีเหตุผลพอจะทำให้เชื่อได้ว่า พื้นที่ใต้มหาสมุทรแถวนั้นอาจเป็นที่ตั้งฐาน ใต้น้ำ ของชาวนอกโลก ที่มาศึกษาชีวิตความเป็นไปในโลกของเราก็ได้ และแสงเรือง ที่เกิดขึ้น อาจเป็นสัญญาณให้ยานอวกาศของพวกเขาทราบตำแหน่งที่ตั้งและมองเห็นได้ ชัดเจน ก่อนที่ยานอวกาศจะเข้าสู่บรรยากาศโลก เหตุผลต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ท่านอย่าเพิ่ง เชื่อปักใจ ไปกับอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะตราบใดที่เรายังไม่อาจพิสูจน์ได้แน่ชัด ปรากฏการณ์ประหลากชองสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาก็ยังเป็นเรื่องลึกลับ ที่มืดมนสำหรับเราอยู่


ที่มา www.geocities.com/p_knun/bermuda2.htm

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Galaxy แกแล็กซี

แกแล็กซีต่างๆ


1.Abell 520
ระบบที่กลุ่มแกแล็กซีที่มีมวลสูงอย่างน้อยสองกลุ่มเกิดการปะทะกัน ภาพที่ใช้หลายความยาวคลื่นแสดงให้เห็นถึงความยุ่งเหยิงหลังการปะทะกันของแกแล็กซีอย่างน้อยสองกลุ่ม ซึ่งเป็นวัตถุที่มีมวลสูงมากที่สุดชนิดหนึ่งในเอกภพ ภาพเอ็กซ์เรย์จาก Chandra (สีแดง) แสดงให้เห็นถึงก๊าซร้อนที่ห่อหุ้มกลุ่มแกแล็กซี แต่ละแกแล็กซีจะปรากฏในภาพที่มองเห็นแสงได้ (สีเหลืองและส้ม) ซึ่งทำให้เห็นสสารมืด (สีน้ำเงิน) จากการบิดเบือนที่ไม่ชัดเจนของวัตถุที่อยู่ไกล ลักษณะของสสารมืดเมื่อเทียบกับแกแล็กซีและก๊าซร้อนใน Abell 520 มีความผิดปกติมาก ข้อมูลเหล่านี้สามารถอธิบายได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจปัจจุบันเกี่ยวกับสสารมืด หรือวิธีที่กลุ่มแกแล็กซีมีปฏิกิริยาต่อกันเมื่อมีการรวมตัว




2.Abell 3627

กลุ่มขนาดยักษ์ของแกแล็กซีห่างจากโลกประมาณ 220 ล้านปีแสง โดยมีแกแล็กซี ESO 137-001 พุ่งเข้าหา ภาพที่ประกอบขึ้นนี้แสดงหางที่เกิดขึ้นขณะที่แกแล็กซี ESO 137-001 พุ่งเข้าสู่กลุ่มแกแล็กซี Abell 3627 ภาพเอ็กซ์เรย์จาก Chandra (น้ำเงิน) และแสงออพติค (ขาวและแดง) จากกล้องโทรทรรศน์ SOAR แสดงภาพนี้ขณะที่แกแล็กซีพุ่งเข้าหา มีการแตกกระจายของวัสดุ และกำเนิดดวงดาวด้านหลังในหางที่มีความยาวกว่า 200,000 ปีแสง ผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นว่าดาวนั้นเกิดขึ้นได้ภายนอกแกแล็กซีของตนเอง


3.แกแล็กซีแบบกังหันลม
แกแล็กซีรูปวงแหวนที่อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 400 ล้านปีแสง รูปภาพนี้มีข้อมูลจากช่วงความยาวคลื่นของแสงที่แตกต่างกันสี่แบบ: อินฟราเรด (สีแดง) มองเห็นได้ (สีเขียว) อุลตร้าไวโอเล็ต (สีฟ้า) และเอ็กซ์เรย์ (สีม่วง) รูปร่างที่ผิดปกติของแกแล็กซีล้อเกวียนนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการชนกับอีกแกแล็กซีหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าที่ทางด้านซ้ายล่างเมื่อหลายร้อยล้านปีมาแล้ว แกแล็กซีขนาดเล็กนี้จะสร้างคลื่นการบีบอัดในก๊าซของแกแล็กซีล้อเกวียนเมื่อเคลื่อนที่เข้าไปในแกแล็กซีดังกล่าว คลื่นการบีบอัดนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนการสร้างรูปแบบดวงดาว การระเบิดของดวงดาวล่าสุดทำให้เกิดแสงที่ขอบของแกแล็กซีล้อเกวียน ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าแกแล็กซีทางช้างเผือกที่มีดาวอายุหลายล้านดวง แหล่งแสงเอ็กซ์เรย์สีขาวที่ส่องสว่างซึ่งตรวจพบด้วย Chandra ที่ส่วนขอบนั้นเกิดขึ้นจากสสารที่ตกลงไปในหลุมดำที่เกิดขึ้นหลังจากการระเบิดของดาวขนาดใหญ่


4.Centaurus A
แกแล็กซีที่ยังมีชีวิต อยู่ระหว่าง 11 ล้านปีแสงจากโลกของเราในกลุ่มดาว Centaurus ภาพของ Chandraของแกแล็กซีที่ใกล้เคียงนี้แสดงเส้นโค้งขนาดใหญ่ของก๊าซที่มีความร้อนหลายล้านองศาเซลเซียสในขอบแกแล็กซี ภาพประกอบของเอ็กซ์เรย์ (น้ำเงิน) วิทยุ (ชมพูและเขียว) และออพติคัล (ส้มและเหลือง) เป็นภาพของแกแล็กซีที่กำลังวุ่นวาย เส้นโค้งของก๊าซร้อนจัดที่แผ่รังสีเอ็กซ์เรย์ ดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของวงแหวนเส้นผ่าศูนย์กลาง 25,000 ปีแสง ขนาดและตำแหน่งของวงแหวนแสดงให้เห็นว่าอาจเกิดขึ้นในการระเบิดครั้งมโหฬารที่เกิดขึ้นในนิวเคลียสของแกแล็กซีประมาณหมื่นปีก่อน


5.M82
กาแล็กซีที่อยู่ห่างไป 12 ล้านปีแสงจากโลก ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การก่อกำเนิดดวงดาว ภาพจาก Great Observatories ของ NASA ได้รับการสร้างขึ้นจากหลายคลื่นความถี่ ในมุมมองของการระเบิดของกาแล็กซี M82 แสงออพติคจากดวงดาว (สีเหลือง-เขียว/กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble) แสดงให้เห็นรูปจานขนาดเล็กซึ่งน่าจะเป็นกาแล็กซีปกติ ภาพจากการสำรวจของ Hubble อีกภาพที่จับภาพกลุ่มก๊าซไฮโดรเจนอุณหภูมิสูง 10,000 องศาเซลเซียส (สีส้ม) ที่เผยให้เห็นภาพที่น่าตื่นตาของมวลสารที่ระเบิดออกจากกาแล็กซี ภาพอินฟราเรดของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Spitzer (สีแดง) แสดงให้เห็นกลุ่มก๊าซเย็นและฝุ่นละอองที่พุ่งออกมาเช่นกัน ภาพเอ็กซ์เรย์ Chandra (สีน้ำเงิน) แสดงให้เห็นก๊าซความร้อนสูงถึงระดับล้านองศาที่พวยพุ่งออกมาอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดจากการก่อกำเนิดดวงดาวในส่วนกลางของกาแล็กซี การก่อตัวของการระเบิดของดาวคาดว่าน่าจะเกิดจากการเฉียดเข้าใกล้ของกาแล็กซีใกล้เคียงคือ M81 เมื่อประมาณ 100 ล้านปีที่แล้ว


6.M87
แกแล็กซีรูปวงรีในกลุ่มกระจุก Virgo ซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 50 ล้านปีแสง การส่องส่ว่างของ Chandra ใน M87 มีการปล่อยช็อคเวฟที่เป็นคลื่นเอ็กซ์เรย์ที่มีพลังงานสูง รวมทั้งยังมีชุดของการระเบิดตัวจากหลุมดำมวลยวดยิ่งที่ศูนย์กลาง ภาพที่มีสี (เอ็กซ์เรย์คือสีแดง; ข้อมูลออปติคัลคือสีน้ำเงิน) แสดงชุดของลูปและบับเบิลในก๊าซที่มีการปล่อยรังสีเอ็กซ์เรย์ที่มีความร้อนสูง ซึ่งเป็นซากจากการระเบิดย่อยๆ ใกล้ๆ กับหลุมดำ นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นที่สังเกตเห็นได้ใน M87 เป็นครั้งแรก คือแถบบางๆ ที่เป็นการปล่อยคลื่นเอ็กซ์เรย์ ซึ่งอาจเกิดจากก๊าซร้อนผ่านเข้าไปในสนามแม่เหล็ก แถบหนึ่งของแถบบางๆ นี้มีความยาวมากกว่า 100,000 ปีแสง โดยทอดตัวลงมาตามแนวล่างและด้านขวาจากกึ่งกลางของ M87 ในลักษณะที่เกือบจะเป็นเส้นตรง


7.Sombrero Galaxy
แกแล็กซีรูปกังหัน รู้จักในชื่อ M104 ในกระจุกดาว Virgo ห่างไปประมาณ 28 ล้านปีแสง
ภาพของแกแล็กซี Sombrero ที่มีชื่อเสียงนี้ใช้ภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Chandra, Hubble และ Spitzer ของ NASA ภาพเอ็กซ์เรย์จาก Chandra (สีน้ำเงิน) แสดงก๊าซร้อนในแกแล็กซีและตำแหน่งที่เป็นส่วนผสมของวัตถุต่างๆ ภายในแกแล็กซีและเบื้องหลังเป็นควอซาร์ ภาพถ่ายจาก Hubble (สีเขียว) แสดงส่วนของดาวที่บางส่วนถูกบังโดยฝุ่นละออง ซึ่งเรืองแสงในมุมมองอินฟราเรดของ Spitzer (สีแดง)


8.NGC 3079
แกแล็กซีรูปกังหันลม อยู่ไกลจากโลกราว 55 ล้านปีแสง ภาพเอ็กซ์เรย์ของ Chandra (สีน้ำเงิน) นำมารวมกับภาพออปติคัลจาก Hubble (สีแดงและสีเขียว) แสดงให้เห็นแนวเส้นของก๊าซอุ่น (ประมาณหมื่นองศาเซลเซียส) และร้อน (ประมาณหนึ่งล้านองศาเซลเซียส) ซึ่งรวมตัวกันเพื่อสร้างรูปทรงแบบเกือกม้าที่บริเวณใกล้ใจกลาง ซึ่งคาดว่าลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อลมแรงของก๊าซร้อนปะทะเข้ากับก๊าซเย็นใน galactic disk ส่วนที่ยืดออกเต็มที่ของกระแสลมปรากฏเป็นส่วนจางๆ ที่มีการส่งแสงเอ็กซ์เรย์รอบๆ แถบ ลมที่เกิดจากใจกลางของแกแล็กซีอาจเกิดจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากหลุมดำมวลยวดยิ่งหรือโดยการระเบิดของซูเปอร์โนวา


9.Crescent Nebula
ระบบที่กลุ่มแกแล็กซีขนาดใหญ่สองกลุ่มชนกัน ภาพประกอบเอ็กซ์เรย์ (น้ำเงิน)/ออพติค (แดงและเขียว) แสดงรายละเอียดของเนบิวลารูปเสี้ยววงกลม ประมาณ 400,000 ปีก่อน ดาวขนาดยักษ์ HD 192163 (ซึ่งอยู่นอกภาพทางมุมขวาล่าง) ขยายตัวอย่างมากจนกลายเป็นยักษ์สีแดงและปล่อยเลเยอร์ภายนอกที่ความเร็วประมาณ 20,000 ไมล์ต่อชั่วโมง หลังจากนั้นสองแสนปี การแผ่รังสีที่เข้มข้นจากชั้นในที่ร้อนจัดของดาวก็เริ่มดันก๊าซออกกที่ความเร็วกว่า 3 ล้านไมล์ต่อชั่วโมง! การชนของลมสุริยะความเร็วสูงกับลมของดาวยักษ์สีแดงที่ช้ากว่าเป็นแรงอัดก๊าซให้เป็นเปลือก (แดง) และสร้างช็อคเวฟสองครั้ง: ช็อคที่เคลื่อนออกซึ่งมองเห็นได้ในช่วงคลื่นออพติค (เขียว) และช็อคเวฟที่เคลื่อนเข้าด้านใน ซึ่งสร้างฟองก๊าซที่แผ่รังสีเอ็กซ์เรย์มีความร้อนสูงถึง 2 ล้านองศาเซลเซียส (น้ำเงิน) ซึ่งเห็นได้โดย Chandra เนื่องจากดาวขนาดยักษ์ระเบิดออกเป็นซูเปอร์โนวา ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายนอกจะช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถทำความเข้าใจกับซูเปอร์โนวาและซากของซูเปอร์โนวาได้ดียิ่งขึ้น


10.M16
พื้นที่ก่อกำเนิดดวงดาวใกล้เคียง ห่างจากโลกประมาณ 7,000 ปีแสง ภาพประกอบของเนบิวลาเหยี่ยว (M16) ด้วย Chandra X-ray Observatory และ Hubble Space Telescope ของ NASA เจาะผ่านเสาก๊าซที่มืดครึ้ม เพื่อเผยว่ามีการกำเนิดดาวจำนวนมากน้อยเพียงใด ข้อมูลจาก Chandra (แดง, เขียว, และน้ำเงิน แสดงเอ็กซ์เรย์พลังงานต่ำ กลาง และสูง ตามลำดับ) แสดงถึงแหล่งที่มาของเอ็กซ์เรย์ไม่กี่แห่งในสิ่งที่เรียกว่า "เสาแห่งการกำเนิด" แสดงให้ทราบว่าการกำเนิดของดวงดาวมีอัตราสูงสุดในพื้นที่นี้เมื่อหลายล้านปีก่อน



ที่มา http://sky.google.com/