เมฆ คือ ละอองน้ำและเกล็ดน้ำแข็งที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ ที่เราสามารถมองเห็นได้
ไอน้ำที่ควบแน่น เป็นละอองน้ำ (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 0.01 มม) หรือ เป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเกาะตัวกันเป็นกลุ่มจะเห็นเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆนี้สะท้อนคลื่นแสงในแต่ละความยาวคลื่นในช่วงที่ตามองเห็นได้ ในระดับที่เท่า ๆ กัน จึงทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆนั้นเป็นสีขาว แต่ก็สามารถมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำ ถ้าหากเมฆนั้นมีความหนาแน่นสูงมากจนแสงผ่านไม่ได้
เมฆบนดาวดวงอื่นนั้นประกอบด้วยสารอื่นนอกจากน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพบรรยากาศของดาวนั้น (เช่นว่า มีก๊าซอะไรอยู่ และ ระดับอุณหภูมิ)
ไอน้ำที่ควบแน่น เป็นละอองน้ำ (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 0.01 มม) หรือ เป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเกาะตัวกันเป็นกลุ่มจะเห็นเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆนี้สะท้อนคลื่นแสงในแต่ละความยาวคลื่นในช่วงที่ตามองเห็นได้ ในระดับที่เท่า ๆ กัน จึงทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆนั้นเป็นสีขาว แต่ก็สามารถมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำ ถ้าหากเมฆนั้นมีความหนาแน่นสูงมากจนแสงผ่านไม่ได้
เมฆบนดาวดวงอื่นนั้นประกอบด้วยสารอื่นนอกจากน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพบรรยากาศของดาวนั้น (เช่นว่า มีก๊าซอะไรอยู่ และ ระดับอุณหภูมิ)
การแบ่งประเภท
แบ่งตามรูปร่างของเมฆ
เมฆนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ แบบเป็นชั้น (layered) ในแนวนอน และ แบบลอยตัวสูงขึ้น (convective) ในแนวตั้ง, โดยจะมีชื่อเรียกว่า สตราตัส (stratus ซึ่งหมายถึงลักษณะเป็นชั้น) และ คิวมูลัส (cumulus ซึ่งหมายถึงทับถมกันเป็นกอง) ตามลำดับ
นอกจากนี้แล้วยังมีคำที่ใช้ในการบอกลักษณะของเมฆ
สตราตัส (stratus) หมายถึง ลักษณะเป็นชั้น
คิวมูลัส (cumulus) หมายถึง ลักษณะเป็นกองสุม
ซีร์รัส (cirrus) หมายถึง เมฆชั้นสูง
อัลโต (alto) หมายถึง เมฆชั้นกลาง
นิมบัส (nimbus) หมายถึง ฝน
แบ่งตามระดับความสูง
เมฆยังอาจแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามระดับความสูงของเมฆ โดยระดับความสูงของเมฆนี้จะวัดจากฐานของก้อนเมฆ ไม่ได้วัดจากยอด โดย Luke Howard เป็นผู้นำเสนอวิธีการแบ่งกลุ่มแบบนี้ แก่ Askesian Society ในปี ค.ศ. 1802
เมฆระดับสูง (ตระกูล A)
ก่อตัวที่ความสูงมากกว่า 16,500 ฟุต (5,000 เมตร) ในบริเวณที่อุณหภูมิต่ำในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ที่ความสูงระดับนี้น้ำส่วนใหญ่นั้นจะแข็งตัว ดังนั้นเมฆจะประกอบด้วยผลึกน้ำแข็ง เมฆในชั้นนี้ส่วนใหญ่มักจะมีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ และ มักจะค่อนข้างโปร่งใส เมฆในกลุ่มนี้จะมีชื่อนำหน้าด้วย ซีร์- (cirr-)
ชนิดของเมฆ:
เมฆซีร์รัส
ซีร์รัส (cirrus - Ci): Cirrus, Cirrus uncinus, Cirrus Kelvin-Helmholtz เป็นเมฆที่ก่อตัวอยู่ในระดับสูงที่สุด มีลักษณะเป็นเส้นๆคล้ายใยไหมหรือเป็นริ้วบางๆหยิกหยองเป็นปอยเหมือนขนนก หรือบางครั้งมองเห็นเป็นริ้วโค้งๆยาวพาดกลางท้องฟ้า ลอยตัวอยู่ในบรรยากาศระดับสูงมากบนท้องฟ้า อุณหภูมิของอากาศบนนั้นหนาวจัดจนเมฆชนิดนี้ประกอบด้วยผลึกน้ำแข็งขนาดจิ๋วแทนที่จะเป็นหยดน้ำ บางครั้งอาจเรียกว่าเมฆหางม้า เพราะกระแสลมแรงจัดเบื้องบนพัดจนกลุ่มเมฆกระจายออกเป็นริ้วโค้งๆเหมือนกับหางของม้า เมฆซีร์รัสเป็นที่ปรากฏอยู่สูงขึ้นไปบนท้องฟ้า บ่งบอกว่าข้างบนโน้นมีลมแรงจัดมากเมฆชนิดนี้เป็นสัญญาณแสดงว่าอากาศแปรปรวนและอากาศอาจกำลังกำลังเลวลง
เมฆซีร์โรคิวมูลัส
ซีร์โรคิวมูลัส (cirrocumulus - Cc) เกิดจากผลึกน้ำแข็งเป็นเมฆ สีขาวโปร่งแสง บางครั้งจะปรากฏวงแหวนสีสวยงามขึ้นในเมฆซีร์โรสตราตัสหรือเมฆอัลโทรเตรตัสที่อยู่สูงๆ มีฐานสูงเฉลี่ย 7,000 เมตร มีลักษณะเป็นเกล็ดบางๆ หรือเป็นละอองคลื่นเล็กๆอยู่ติดกัน บางตอนอาจแยกจากกัน
แต่จะอยู่เรียงรายกันอย่างมีระเบียบ โปร่งแสงอาจมองเห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ได้
เมฆซีร์โรสตราตัส
ซีร์โรสตราตัส (cirrostratus - Cs) เกิดจากผลึกน้ำแข็งเป็นเมฆ สีขาวโปร่งแสง บางครั้งจะปรากฏวงแหวนสีสวยงามขึ้นในเมฆซีร์โรสตราตัสหรือเมฆอัลโทรสตราตัสที่อยู่สูงๆ มีฐานสูงเฉลี่ย 8,500 เมตร มีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบางๆ โปร่งแสงเหมือนม่านติดต่อกันเป็นแผ่นในระดับสูง
มีสีขาวหรือน้ำเงินจาง ปกคลุมเต็มท้องฟ้าหรือเพียงบางส่วน เป็นเมฆที่ทำให้เกิดวงแสงสีขาวหรือมีสี(Halo) รอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ได้
คอนเทรล (Contrail)
เมฆระดับกลาง (ตระกูล B)
ก่อตัวที่ความสูงระหว่าง 6,500 และ 16,500 ฟุต (ระหว่าง 2,000 และ 5,000 เมตร) เมฆจะประกอบด้วยละอองน้ำ และ ละอองน้ำเย็นยิ่งยวด ชื่อของเมฆในชั้นนี้จะนำหน้าด้วย อัลโต- (alto-) ชนิดของเมฆ:
เมฆอัลโตคิวมูลัส
อัลโตคิวมูลัส (altocumulus - Ac): Altocumulus, Altocumulus undulatus, Altocumulus mackerel sky, Altocumulus castellanus, Altocumulus lenticularis มีลักษณะอยู่เป็นกลุ่มๆ คล้ายฝูงแกะ มีสีขาว บางครั้งสีเทา มีการจัดตัวเป็นแถวๆหรือเป็นคลื่น เป็นชั้นๆ มีเงาเมฆมีลักษณะเป็นเกล็ด เป็นก้อนม้วนตัว (roll) อาจมี 2 ชั้นหรือมากกว่าขึ้นไป อาจเกิดพระอาทิตย์ทรงกลด(corona)
เมฆอัลโตสตราตัส
อัลโตสตราตัส (altostratus - As): Altostratus, Altostratus undulatus มีลักษณะเป็นแผ่นหนาบางสม่ำเสมอในชั้นกลางของบรรยากาศ มองดูเรียบเป็นปุยหรือฝอยละเอียดแผ่ออกเป็นพืด เป็นลูกคลื่น ปกคลุมเต็มท้องฟ้า มีสีเทาหรือน้ำเงินอ่อน และอาจมีบางส่วนที่ บางพอที่แสงอาทิตย์จะส่องผ่านลงมายังพื้นดินได้ อาจมีแสงทรงกลด
เมฆระดับต่ำ (ตระกูล C)
ก่อตัวที่ความสูงต่ำกว่า 6,500 ฟุต (2,000 เมตร) และ รวมถึงสตราตัส (stratus) เมฆสตราตัสที่ลอยตัวอยู่ระดับพื้นดินเรียก หมอกชนิดของเมฆ:
เมฆสตราตัส
สตราตัส (Stratus - St) มีลักษณะเป็นแผ่นหนาๆสม่ำเสมอในชั้นต่ำของบรรยากาศ ใกล้ผิวโลกเหมือนหมอก มีสีเทา มองไม่เห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ไม่ทำให้เกิดวงแสง (Halo)เว้นแต่เมื่อมีอุณหภูมิต่ำมากก็อาจเกิดได้
เมฆสตราโตคิวมูลัส
สตราโตคิวมูลัส (Stratocumulus - Sc)มีสีเทา ลักษณะอ่อนนุ่ม เป็นก้อนกลมเรียงติดๆกันทั้งทางแนวตั้ง และทางแนวนอนทำให้มองเห็นเป็นลอนเชื่อมติดต่อกันไป
เมฆนิมโบสตราตัส
นิมโบสตราตัส (Nimbostratus - Ns) มีลักษณะเป็นแผ่นหนาสีเทาดำ เป็นแนวยาวติดต่อกัน แผ่กว้างออกไป ไม่เป็นรูปร่าง เป็นเมฆที่ทำให้เกิดฝนตก จึงเรียกกันว่า "เมฆฝน" เมฆชนิดนี้จะไม่มีฟ้าแลบฟ้าร้อง เกิดเฉพาะในเขตอบอุ่นเท่านั้น
เมฆแนวตั้ง (ตระกูล D)
เป็นเมฆที่มีแนวก่อตัวในแนวตั้ง ซึ่งทำให้เมฆมีความสูงจากฐาน
เมฆคิวมูโลนิมบัส
คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus - Cb): Cumulonimbus, Cumulonimbus incus, Cumulonimbus calvus, Cumulonimbus with mammatus ลักษณะเป็นเมฆก้อนใหญ่รูปร่างคล้ายภูเขาใหญ่ มียอดเมฆแผ่ออกเป็นรูปร่างคล้ายทั่ง (anvil)ฐานเมฆต่ำมีสีดำมืด เป็นเมฆหนา มืดทึบ มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง อาจอยู่กระจัดกระจายหรือรวมกันอยู่ มักมีฝนตกลงมา เรียกเมฆชนิดนี้ว่า "เมฆฟ้าคะนอง"
เมฆคิวมูลัส
คิวมูลัส(Cumulus) ลักษณะเป็นเมฆก้อนหนามียอดมนกลมคล้ายกะหล่ำดอก เห็นขอบนอกได้ชัดเจน ส่วนฐานมีสีค่อนข้างดำ ก่อตัวในทางตั้ง กระจัดกระจายเหมือนสำลี ถ้าเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆหรือลอยอยู่โดดเดี่ยว แสดงถึงสภาวะอากาศดี แดดจัด ถ้ามีขนาดก้อนเมฆใหญ่ ก็อาจมีฝนตกภายใต้ก้อนเมฆ ลักษณะเป็นฝนเฉพาะแห่ง
สีของเมฆ
สีของเมฆนั้นบ่งบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเมฆ
เมฆเกิดจากไอน้ำลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง เย็นตัวลง และ ควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก ละอองน้ำเหล่านี้มีความหนาแน่นสูง แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องทะลุผ่านไปได้ไกลภายในกลุ่มละอองน้ำนี้ จึงเกิดการสะท้อนของแสง ทำให้เราเห็นเป็นก้อนเมฆสีขาว ในขณะที่ก้อนเมฆกลั่นตัวหนาแน่นขึ้น ละอองน้ำเกิดการรวมตัวขนาดใหญ่ขึ้นจนในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ในระหว่างกระบวนการนี้ละอองน้ำในก้อนเมฆซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น จะมีช่องว่างระหว่างหยดน้ำมากขึ้น ทำให้แสงสามารถส่องทะลุผ่านไปได้มากขึ้น ซึ่งถ้าก้อนเมฆนั้นมีขนาดใหญ่พอ และ ช่องว่างระหว่างหยดน้ำนั้นมากพอ แสงที่ผ่านเข้าไปก็จะถูกซึมซับไปในก้อนเมฆและสะท้อนกลับออกมาน้อยมาก ซึ่งการซึมซับและการสะท้อนของแสงนี้ส่งผลให้เราเห็นเมฆตั้งแต่ สีขาว สีเทา ไปจนถึง สีดำ
สีของเมฆที่ใช้ในการบอกสภาพอากาศ:
เมฆสีเขียวจางๆ นั้นเกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์ เมื่อตกกระทบน้ำแข็ง เมฆคิวมูโลนิมบัสที่มีสีเขียว นั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของ พายุฝน พายุลูกเห็บ ลมที่รุนแรง หรือ พายุทอร์นาโด
เมฆสีเหลือง ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ในช่วงที่เกิดไฟป่าได้ง่าย สีเหลืองนั้นเกิดจากฝุ่นควันในอากาศ
เมฆสีแดง สีส้ม หรือ สีชมพู นั้นโดยปกติเกิดในช่วง พระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก เกิดจากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ ไม่ได้เกิดจากเมฆโดยตรง เมฆเพียงเป็นตัวสะท้อนแสงนี้เท่านั้น ในกรณีที่มีพายุฝนขนาดใหญ่ในช่วงเดียวกันจะทำให้เห็นเมฆ เป็นสีแดงเข้ม เหมือนสีเลือด
แบ่งตามรูปร่างของเมฆ
เมฆนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ แบบเป็นชั้น (layered) ในแนวนอน และ แบบลอยตัวสูงขึ้น (convective) ในแนวตั้ง, โดยจะมีชื่อเรียกว่า สตราตัส (stratus ซึ่งหมายถึงลักษณะเป็นชั้น) และ คิวมูลัส (cumulus ซึ่งหมายถึงทับถมกันเป็นกอง) ตามลำดับ
นอกจากนี้แล้วยังมีคำที่ใช้ในการบอกลักษณะของเมฆ
สตราตัส (stratus) หมายถึง ลักษณะเป็นชั้น
คิวมูลัส (cumulus) หมายถึง ลักษณะเป็นกองสุม
ซีร์รัส (cirrus) หมายถึง เมฆชั้นสูง
อัลโต (alto) หมายถึง เมฆชั้นกลาง
นิมบัส (nimbus) หมายถึง ฝน
แบ่งตามระดับความสูง
เมฆยังอาจแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามระดับความสูงของเมฆ โดยระดับความสูงของเมฆนี้จะวัดจากฐานของก้อนเมฆ ไม่ได้วัดจากยอด โดย Luke Howard เป็นผู้นำเสนอวิธีการแบ่งกลุ่มแบบนี้ แก่ Askesian Society ในปี ค.ศ. 1802
เมฆระดับสูง (ตระกูล A)
ก่อตัวที่ความสูงมากกว่า 16,500 ฟุต (5,000 เมตร) ในบริเวณที่อุณหภูมิต่ำในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ที่ความสูงระดับนี้น้ำส่วนใหญ่นั้นจะแข็งตัว ดังนั้นเมฆจะประกอบด้วยผลึกน้ำแข็ง เมฆในชั้นนี้ส่วนใหญ่มักจะมีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ และ มักจะค่อนข้างโปร่งใส เมฆในกลุ่มนี้จะมีชื่อนำหน้าด้วย ซีร์- (cirr-)
ชนิดของเมฆ:
เมฆซีร์รัส
ซีร์รัส (cirrus - Ci): Cirrus, Cirrus uncinus, Cirrus Kelvin-Helmholtz เป็นเมฆที่ก่อตัวอยู่ในระดับสูงที่สุด มีลักษณะเป็นเส้นๆคล้ายใยไหมหรือเป็นริ้วบางๆหยิกหยองเป็นปอยเหมือนขนนก หรือบางครั้งมองเห็นเป็นริ้วโค้งๆยาวพาดกลางท้องฟ้า ลอยตัวอยู่ในบรรยากาศระดับสูงมากบนท้องฟ้า อุณหภูมิของอากาศบนนั้นหนาวจัดจนเมฆชนิดนี้ประกอบด้วยผลึกน้ำแข็งขนาดจิ๋วแทนที่จะเป็นหยดน้ำ บางครั้งอาจเรียกว่าเมฆหางม้า เพราะกระแสลมแรงจัดเบื้องบนพัดจนกลุ่มเมฆกระจายออกเป็นริ้วโค้งๆเหมือนกับหางของม้า เมฆซีร์รัสเป็นที่ปรากฏอยู่สูงขึ้นไปบนท้องฟ้า บ่งบอกว่าข้างบนโน้นมีลมแรงจัดมากเมฆชนิดนี้เป็นสัญญาณแสดงว่าอากาศแปรปรวนและอากาศอาจกำลังกำลังเลวลง
เมฆซีร์โรคิวมูลัส
ซีร์โรคิวมูลัส (cirrocumulus - Cc) เกิดจากผลึกน้ำแข็งเป็นเมฆ สีขาวโปร่งแสง บางครั้งจะปรากฏวงแหวนสีสวยงามขึ้นในเมฆซีร์โรสตราตัสหรือเมฆอัลโทรเตรตัสที่อยู่สูงๆ มีฐานสูงเฉลี่ย 7,000 เมตร มีลักษณะเป็นเกล็ดบางๆ หรือเป็นละอองคลื่นเล็กๆอยู่ติดกัน บางตอนอาจแยกจากกัน
แต่จะอยู่เรียงรายกันอย่างมีระเบียบ โปร่งแสงอาจมองเห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ได้
เมฆซีร์โรสตราตัส
ซีร์โรสตราตัส (cirrostratus - Cs) เกิดจากผลึกน้ำแข็งเป็นเมฆ สีขาวโปร่งแสง บางครั้งจะปรากฏวงแหวนสีสวยงามขึ้นในเมฆซีร์โรสตราตัสหรือเมฆอัลโทรสตราตัสที่อยู่สูงๆ มีฐานสูงเฉลี่ย 8,500 เมตร มีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบางๆ โปร่งแสงเหมือนม่านติดต่อกันเป็นแผ่นในระดับสูง
มีสีขาวหรือน้ำเงินจาง ปกคลุมเต็มท้องฟ้าหรือเพียงบางส่วน เป็นเมฆที่ทำให้เกิดวงแสงสีขาวหรือมีสี(Halo) รอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ได้
คอนเทรล (Contrail)
เมฆระดับกลาง (ตระกูล B)
ก่อตัวที่ความสูงระหว่าง 6,500 และ 16,500 ฟุต (ระหว่าง 2,000 และ 5,000 เมตร) เมฆจะประกอบด้วยละอองน้ำ และ ละอองน้ำเย็นยิ่งยวด ชื่อของเมฆในชั้นนี้จะนำหน้าด้วย อัลโต- (alto-) ชนิดของเมฆ:
เมฆอัลโตคิวมูลัส
อัลโตคิวมูลัส (altocumulus - Ac): Altocumulus, Altocumulus undulatus, Altocumulus mackerel sky, Altocumulus castellanus, Altocumulus lenticularis มีลักษณะอยู่เป็นกลุ่มๆ คล้ายฝูงแกะ มีสีขาว บางครั้งสีเทา มีการจัดตัวเป็นแถวๆหรือเป็นคลื่น เป็นชั้นๆ มีเงาเมฆมีลักษณะเป็นเกล็ด เป็นก้อนม้วนตัว (roll) อาจมี 2 ชั้นหรือมากกว่าขึ้นไป อาจเกิดพระอาทิตย์ทรงกลด(corona)
เมฆอัลโตสตราตัส
อัลโตสตราตัส (altostratus - As): Altostratus, Altostratus undulatus มีลักษณะเป็นแผ่นหนาบางสม่ำเสมอในชั้นกลางของบรรยากาศ มองดูเรียบเป็นปุยหรือฝอยละเอียดแผ่ออกเป็นพืด เป็นลูกคลื่น ปกคลุมเต็มท้องฟ้า มีสีเทาหรือน้ำเงินอ่อน และอาจมีบางส่วนที่ บางพอที่แสงอาทิตย์จะส่องผ่านลงมายังพื้นดินได้ อาจมีแสงทรงกลด
เมฆระดับต่ำ (ตระกูล C)
ก่อตัวที่ความสูงต่ำกว่า 6,500 ฟุต (2,000 เมตร) และ รวมถึงสตราตัส (stratus) เมฆสตราตัสที่ลอยตัวอยู่ระดับพื้นดินเรียก หมอกชนิดของเมฆ:
เมฆสตราตัส
สตราตัส (Stratus - St) มีลักษณะเป็นแผ่นหนาๆสม่ำเสมอในชั้นต่ำของบรรยากาศ ใกล้ผิวโลกเหมือนหมอก มีสีเทา มองไม่เห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ไม่ทำให้เกิดวงแสง (Halo)เว้นแต่เมื่อมีอุณหภูมิต่ำมากก็อาจเกิดได้
เมฆสตราโตคิวมูลัส
สตราโตคิวมูลัส (Stratocumulus - Sc)มีสีเทา ลักษณะอ่อนนุ่ม เป็นก้อนกลมเรียงติดๆกันทั้งทางแนวตั้ง และทางแนวนอนทำให้มองเห็นเป็นลอนเชื่อมติดต่อกันไป
เมฆนิมโบสตราตัส
นิมโบสตราตัส (Nimbostratus - Ns) มีลักษณะเป็นแผ่นหนาสีเทาดำ เป็นแนวยาวติดต่อกัน แผ่กว้างออกไป ไม่เป็นรูปร่าง เป็นเมฆที่ทำให้เกิดฝนตก จึงเรียกกันว่า "เมฆฝน" เมฆชนิดนี้จะไม่มีฟ้าแลบฟ้าร้อง เกิดเฉพาะในเขตอบอุ่นเท่านั้น
เมฆแนวตั้ง (ตระกูล D)
เป็นเมฆที่มีแนวก่อตัวในแนวตั้ง ซึ่งทำให้เมฆมีความสูงจากฐาน
เมฆคิวมูโลนิมบัส
คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus - Cb): Cumulonimbus, Cumulonimbus incus, Cumulonimbus calvus, Cumulonimbus with mammatus ลักษณะเป็นเมฆก้อนใหญ่รูปร่างคล้ายภูเขาใหญ่ มียอดเมฆแผ่ออกเป็นรูปร่างคล้ายทั่ง (anvil)ฐานเมฆต่ำมีสีดำมืด เป็นเมฆหนา มืดทึบ มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง อาจอยู่กระจัดกระจายหรือรวมกันอยู่ มักมีฝนตกลงมา เรียกเมฆชนิดนี้ว่า "เมฆฟ้าคะนอง"
เมฆคิวมูลัส
คิวมูลัส(Cumulus) ลักษณะเป็นเมฆก้อนหนามียอดมนกลมคล้ายกะหล่ำดอก เห็นขอบนอกได้ชัดเจน ส่วนฐานมีสีค่อนข้างดำ ก่อตัวในทางตั้ง กระจัดกระจายเหมือนสำลี ถ้าเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆหรือลอยอยู่โดดเดี่ยว แสดงถึงสภาวะอากาศดี แดดจัด ถ้ามีขนาดก้อนเมฆใหญ่ ก็อาจมีฝนตกภายใต้ก้อนเมฆ ลักษณะเป็นฝนเฉพาะแห่ง
สีของเมฆ
สีของเมฆนั้นบ่งบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเมฆ
เมฆเกิดจากไอน้ำลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง เย็นตัวลง และ ควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก ละอองน้ำเหล่านี้มีความหนาแน่นสูง แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องทะลุผ่านไปได้ไกลภายในกลุ่มละอองน้ำนี้ จึงเกิดการสะท้อนของแสง ทำให้เราเห็นเป็นก้อนเมฆสีขาว ในขณะที่ก้อนเมฆกลั่นตัวหนาแน่นขึ้น ละอองน้ำเกิดการรวมตัวขนาดใหญ่ขึ้นจนในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ในระหว่างกระบวนการนี้ละอองน้ำในก้อนเมฆซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น จะมีช่องว่างระหว่างหยดน้ำมากขึ้น ทำให้แสงสามารถส่องทะลุผ่านไปได้มากขึ้น ซึ่งถ้าก้อนเมฆนั้นมีขนาดใหญ่พอ และ ช่องว่างระหว่างหยดน้ำนั้นมากพอ แสงที่ผ่านเข้าไปก็จะถูกซึมซับไปในก้อนเมฆและสะท้อนกลับออกมาน้อยมาก ซึ่งการซึมซับและการสะท้อนของแสงนี้ส่งผลให้เราเห็นเมฆตั้งแต่ สีขาว สีเทา ไปจนถึง สีดำ
สีของเมฆที่ใช้ในการบอกสภาพอากาศ:
เมฆสีเขียวจางๆ นั้นเกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์ เมื่อตกกระทบน้ำแข็ง เมฆคิวมูโลนิมบัสที่มีสีเขียว นั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของ พายุฝน พายุลูกเห็บ ลมที่รุนแรง หรือ พายุทอร์นาโด
เมฆสีเหลือง ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ในช่วงที่เกิดไฟป่าได้ง่าย สีเหลืองนั้นเกิดจากฝุ่นควันในอากาศ
เมฆสีแดง สีส้ม หรือ สีชมพู นั้นโดยปกติเกิดในช่วง พระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก เกิดจากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ ไม่ได้เกิดจากเมฆโดยตรง เมฆเพียงเป็นตัวสะท้อนแสงนี้เท่านั้น ในกรณีที่มีพายุฝนขนาดใหญ่ในช่วงเดียวกันจะทำให้เห็นเมฆ เป็นสีแดงเข้ม เหมือนสีเลือด